วันจันทร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2553

เนื้อเรื่อง

เริ่มต้นชมบุญบารมีและพระบรมเดชานุภาพของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช แล้วดำเนินความตามประวัติศาสตร์ว่า พระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรงทรงทราบว่า สมเด็จพระมหาธรรมราชา เสด็จสวรรคต สมเด็จพระนเรศวรได้ครองราชย์สมบัติ พระองค์จึงตรัสปรึกษาขุนนางทั้งปวงว่ากรุงศรีอยุธยาผลัดเปลี่ยนกษัตริย์ สมเด็จพระนเรศวรและสมเด็จพระเอกาทศรถ พระพี่น้องทั้งสองอาจรบพุ่งชิงความเป็นใหญ่กัน ยังไม่รู้เหตุผลประการใด ควรส่งทัพไปเหยียบดินแดนไทย เป็นการเตือนสงครามไว้ก่อน ถ้าเหตุการณ์เมืองไทยไม่ปกติสุขก็ให้โจมตีทันที ขุนนางทั้งหลายก็เห็นชอบตามพระราชดำรีนั้น พระจ้าหงสาวดีจึงตรัสให้ พระมหาอุปราชเตรียมทัพร่วมกับพระมหาราชเจ้านครเชียงใหม่ แต่พระมหาอุปราชกราบทูลพระบิดาว่าโหรทายว่าชันษาของพระองค์ร้ายนัก

สมเด็จพระเจ้าหงสาวดีตรัสว่าพระมหาธรรมราชาไม่เสียแรงมีโอรสล้วนแต่เชี่ยวชาญกล้าหาญในศึกมิเคยย่อท้อการสงคราม ไม่เคยพักให้พระราชบิดาใช้เลยต้องห้ามเสียอีก และ หวาดกลัวพระราชอาญาของพระบิดายิ่งนัก จึงเตรียมจัดทัพหลวงและทัพหัวเมืองต่างๆ เพื่อยกมาตีไทย ขณะนั้นสมเด็จพระนเรศวรเตรียมทัพจะไปตีกัมพูชาเป็นการแก้แค้นที่ถือโอกาสรุกรานไทยหลายครั้งระหว่างที่ไทยติดศึกกับพม่า พอสมเด็จพระนเรศวรทรงทราบข่าวศึกก็ทรงถอนกำลังไปสู้รบกับพม่าทันที ทัพหน้ายกล่วงหน้าไปตั้งที่ตำบลหนองสาหร่าย

ฝ่ายพระมาหาอุปราชาทรงคุมทัพมากับพระเจ้าเชียงใหม่รี้พลรบ 5 แสน เข้ามาทางด่านเจดีย์สามองค์ ทรงชมไม้ ชมนก ชมเขา และคร่าครวญถึงพระสนมกำนัลมาตลอดจนผ่านไทรโยคลำกระเพิน และเข้ายึดเมืองกาญจนบุรีได้โดยสะดวก ต่อจากนั้นก็เคลื่อนพลผ่านพนมทวนเกิดลางร้ายลมเวรัมภาพัดฉัตรหัก ทรงตั้งค่ายหลวงที่ตำบลตระพังตรุ ฝ่ายสมเด็จพระนเรศวรและสมเด็จพระเอกาทศรถทรงเคลื่อนพยุหยาตราทางชลมารค ไปขึ้นบกที่ปากโมก บังเกิดศุภนิมิต ต่อจากนั้นทรงกรีฑาทัพทางบกไปตั้งค่ายที่ตำบลหนองสาหร่าย เมื่อทรงทราบว่าพม่าส่งทหารมาลาดตะเวน ทรงแน่พระทัยว่าพม่าจะต้องโจมตีกรุงศรีอยุธยาเป็นแน่ จึงรับสั่งให้ทัพหน้าเข้าปะทะข้าศึกแล้ว ล่าถอยเพื่อลวงข้าศึกให้ประมาท แล้วสมเด็จพระนเรศวรมหาราชกับสมเด็จพระเอกาทศรถทรงนำทัพหลวงออกมาช่วย ช้างพระที่นั่งลองเชือกตกมันกลับเขาไปในหมู่ข้าศึกแม่ทัพนายกองตามไม่ทัน สมเด็จพระนเรศวรมหาราชตรัสท้าพระมหาอุปราชากรำยุทธหัตถีจนมีชัยชนะ พระมหาอุปราชาขาดคอช้าง สมเด็จพระเอกาทศรถกระทำยุทธหัตถีมีชัยชนะแก่มังจาชโร

เมื่อกองทัพพม่าแตกพ่ายไปแล้วสมเด็จพระนเรศวรมาหาราชรับสั่งให้สร้างสถูปเจดีย์เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระมหาอุปราชา เสด็จแล้วจึงเลิกทัพกลับกรุงศรีอยุธยา เป็นอับดับจบเนื้อเรื่อง

ตอนที่  1       "เริ่มบทกวี"
                        ยอพระเกียรติสมเด็จพระนเรศวรมหาราช  และพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว   ซึ่งเป็นพระมหากษัตริย์องค์ที่กำลังปกครองบ้านเมืองในสมัยของผู้ทรงนิพนธ์

ตอนที่  2  "เหตุการณ์ทางเมืองมอญ"
                          พระเจ้านันทบุเรง  กษัตริย์พม่าทรงทราบข่าวการสวรรคตของพระมหาธรรมราชา (พ.ศ.2133)  จึงมีรับสั่งให้พระมหาอุปราชานำทัพมาตีกรุงศรีอยุธยาด้วยคาดว่า  สมเด็จพระนเรศวรและสมเด็จพระเอกาทศรถอาจวิวาทชิงราชสมบัติกัน   เป็นโอกาสเหมาะที่จะทำศึก      ในตอนแรกพระมหาอุปราชาทรงบ่ายเบี่ยงด้วยโหรหลวงทำนายว่าจะมีเคราะห์ถึงแก่ชีวิต   แต่เมือพระเจ้านันทบุเรงบริภาษ  จึงเกิดขัตติยมานะเสด็จทำสงคราม   โดยพระเจ้านันทบบัเรงได้พระราชทานพรให้ชนะศึกและพระบรมราโชวาท  ดังนี้
                        1.  อย่าหูเบาใจเบา   โดยฟังหรือดูอะไรอย่างผิวเผิน
                        2.  อย่าทำอะไรตามใจตนเองโดยไม่คิดถึงผู้อื่น
                        3.  ให้เอาใจทหารให้มีกำลังใจฮึกเหิม กล้าหาญในการสู้รบเสมอ
                        4.  อย่าไว้ใจคนขลาดและคนเขลา
                        5.  รอบรู้ในการจัดกระบวนทัพ
                        6.  รู้หลักพิชัยสงคราม
                        7.  ให้บำเหน็จความดีความชอบแก่แม่ทัพนายกองที่เก่งกล้าสามารถ
                        8.  พากเพียรไม่เกียจคร้าน
  ตอนที่   3  "พระมหาอุปราชายกทัพเข้าเมืองกาญจนบุรี"
                        พระมหาอุปราชายกกองทัพมาถึงด่านเจดีย์สามองค์  ซึ่งเป็นด่านระหว่างพม่ากับไทย  ก็ทรงขับทหารให้รุกเข้ามาในแดนไทย     เมื่อพระมหาอุปราชายกทัพมาถึงตำบลพนมทวน  เกิดลมเวลัมภาพัดฉัตรหัก   โหรทำนายว่าลมนี้เกิดตอนเช้าไม่ดี   ถ้าเกิดยามเย็นจะดีพระมหาอุปราชาจะได้ชนะไทย   พระมหาอุปราชาทรงฟังแล้วยังไม่เชื่อสนิท   ทรงคร่ำครวญถึงพระบิดาว่า  ถ้าพระองค์สิ้นพระชนม์ในการสงคราม   พระบิดาจะได้ใครช่วยเหลือ       ทางฝ่ายไทย  เจ้าเมืองสิงห์บุรี  สรรค์บุรี   สุพรรณบุรี  ก็ให้ชาวเมืองอพยพครอบครัวหนีไปอยู่ในป่า  แล้วทำหนังสือมากราบทูลสมเด็จพระนเรศวรให้ทรงทราบข่าวศึก
  
ตอนที่  4   "สมเด็จพระนเรศวรทรงปรารภเรื่องตีเมืองเขมร"
                        ทางกรุงศรีอยุธยา  สมเด็จพระนเรศวรเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ  ทรงปกครองแผ่นดินโดยธรรมราษฎรอยู่ร่มเย็นเป็นสุข   พระองค์โปรดฯให้เตรียมทัพจะไปตีเขมร   แต่ทรงทราบข่าวศึกพม่าจากทูตเมืองกาญจนบุรีจึงทรงระงับเรื่องการไปตีเขมร
              
ตอนที่  5   "สมเด็จพระนเรศวรทรงเตรียมการสู้ศึกมอญ"
                        สมเด็จพระนเรศวรโปรดฯ ให้พระศรีไสยณรงค์เป็นทัพหน้า   พระราชฤทธานนท์เป็นปลัดทัพหน้าไปยับยั้งข้าศึก   ทั้งสองยกทัพมาตั้งค่ายอยู่ที่หนองสาหร่าย  สุพรรณบุรีในชัยภูมิที่เรียกว่า  สีหนาม

ตอนที่   6  "สมเด็จพระนเรศวรทรงตรวจเตรียมทัพ"
        สมเด็จพระนเรศวรโปรดฯ ให้หาฤกษ์ยามในการเคลื่อนทัพหลวง   ญาณโยคโลกทีป โหรหลวงถวายพยากรณ์ว่า  สมเด็จพระนเรศวรได้จตุรงคโชคคือ  1. โชคดี   2. วัน เดือน ปี แห่งการรบดี   3. กำลังทหารเข็มแข็ง     4. อาหารสมบูรณ์   และให้เสด็จเคลื่อนทัพจากกรุงศรีอยุธยาในวันอาทิตย์ขึ้นสิบเอ็ดค่ำ  เดือนยี่  เวลา 8.30 นาฬิกา    สมเด็จพระนเรศวรเสด็จกรีธาทัพเรือจากอยุธยาไปขึ้นบกที่ปากโมก  จังหวัดอ่างทอง   เมื่อทรงพักแรมที่ปากโมกได้เสวยสุบินนิมิตเป็นเทพสังหรณ์  คือ   เทวดามาบันดาลให้สุบินว่ามีน้ำท่วมมกาทางทิศตะวันตก  พระองค์เสด็จลุยกระแสน้ำเชี่ยวไปปะทะจระเข้ใหญ่ สามารถฆ่าจระเข้ตาย   น้ำที่ท่วมมานั้นก็เหือดแห้งไป   โหรทำนายว่าพระองค์จะได้ทำยุทธหัตถีและชนะศึกครั้งนี้    เมื่อจะเสด็จกรีธาทัพบกจากปากโมก  ขณะคอยฤกษ์งามยามดีก็ได้ทอดพระเนตรเห็นพระบรมสารีริกธาตุส่องแสงสว่างงดงาม ขนาดเท่าผลส้มเกลี่ยงลอยมาจากทิศใต้   และหมุนเวีรยนขวารอบกองทัพสามรอบแล้วลอยไปทางทิศเหนือ  นับว่าเป็นศุภนิมิตที่ดียิ่ง
                        เมื่อได้ฤกษ์ยาม  สมเด็จพระนเรศวรทรงช้างชื่อเจ้าพระยาไชยนุภาพ  และสมเด็จพระเอกาทศรถทรงช้างชื่อเจ้าพระยาปราบไตรจักร  เสด็จกรีธาทัพจากปากโมกถึงหนองสาหร่าย  แล้วโปรดฯ ให้ตั้งค่ายทัพหลวงที่หนองสาหร่าย  ต่อกับค่ายทัพหน้าในชัยภูมิที่เรียกว่า  ครุฑนาม

ตอนที่  7   "พระมหาอุปราชาทรงปรึกษาการศึกแล้วยกทัพเข้าปะทะทัพหน้าของไทย"
พระมหาอุปราชาทรงใช้ให้กองลาดตระเวนมาสืบข่าวกองทัพไทย  กองลาดตระเวนซึ่งมีสมิงอะคร้านเป็นขุนกอง  สมิงเป่อปลัดทัพ  กับสมิงซายม่วน  มาสืบข่าวถึงหนองสาหร่ายเห็นกำลังกองทัพไทยมีกำลังเพียง 17-18 หมื่น  แต่กองทัพพม่ามีถึง 50 หมื่นมากกว่าเกือบสามเท่า   จึงรับสั่งให้กองทัพพม่ารีบเข้าโจมตีทัพไทยให้แตกพ่ายไป   กองทัพพม่าออกเดินทางตั้งแต่ตีห้า  มาปะทะทัพหน้าของไทย  ซึ่งมีพลห้าหมื่นจัดทัพเป็นตรีเสนาเก้ากอง  มีผังทัพดังนี้
                        กองหน้า         ปีกซ้าย         นายกองหน้า      ปีกขวา
                                         เจ้าเมืองธนบุรี              พระยาสุพรรณบุรี      เจ้าเมืองนนทบุรี

                        กองหลวง         ปีกซ้าย             แม่ทัพ              ปีกขวา
                                         เจ้าเมืองสรรค์บุรี         พระยาศรีไสยณรงค์    เจ้าเมืองสิงห์บุรี

                        กองหลัง         ปีกซ้าย             ปลัดทัพ     ปีกขวา
                                       เจ้าเมืองชัยนาท           พระราชฤทธานนท์      พระยาวิเศษชัยชาญ

                        กองทัพหน้าของไทยต่อสู้ทัพพม่าอย่างสุดกำลังความสามารถ  แต่กำลังน้อยกว่าจึงสู้พลางถอยพลาง

ตอนที่  8   "สมเด็จพระนเรศวรทรงปรึกษายุทธวิธีเอาชนะข้าศึก"
      ในขณะที่สมเด็จพระนเรศวรโปรดฯ ให้ทำพิธีเบิกโขลนทวารและตัดไม้ข่มนาม  ก่อนจะเคลื่อนกองทัพหลวง   ทรงได้ยินเสียงรบพุ่งจึงให้หมื่นทิพเสนาไปสืบข่าวทรงทราบว่าทัพหน้าไทยต้านทานพม่าไม่ได้   จึงโปรดฯ ให้ทัพหน่าล่าทัพมาโดยไม่รั้งรอเพื่อให้พม่าตามมาอย่างไม่เป็นขบวน  และทัพหลวงของไทยจะได้โอบล้อมโจมตีทัพพม่าให้แตกพ่าย

ตอนที่  9   "ทัพหลวงเคลื่อนพล   ช้างทรงสมเด็จพระนเรศวรและพระเอกาทศรถฝ่าเข้าไปในกองทัพข้าศึก"

                        สมเด็จพระนเรศวรโปรดฯ ให้เคลื่อนกองทัพหลวง  ช้างทรงเจ้าพระยาไชยานุภาพและเจ้าพระยาปราบไตรจักรตกมันควาญช้างบังคับไม่อยู่  พาทั้งสองพระองค์และควาญช้างเข้าไปท่ามกลางข้าศึก

ตอนที่  10  "ยุทธหัตถี และชัยชนะของไทย"
            สมเด็จพระนเรศวรทรงแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า  โดยทรงท้าพระมหาอุปราชาทำยุทธหัตถี     ช้างทรงของพระองค์เสียที   พระมหาอุปราชาจึงทรงฟันด้วยพระแสงของ้าว   สมเด็จพระนเรศวรเบี่ยงพระองค์หลบและใช้พระแสงของ้าวรับอาวุธพระมหาอุปราชาไว้ทัน    เมื่อเจ้าพระยาไชยานุภาพได้ล่างงัดพลายพัทธกอ    ช้างทรงของพระมหาอุปราชาให้เสียที   สมเด็จพระนเรศวรจึงทรงใช้พระแสงของ้าวฟันพระมหาอุปราชาขาดสะพายแล่ง   และสมเด็จพระเอกาทศรถก็สามารถฟันมางจาชโร   พี่เลี้ยงพระมหาอุปราชาให้ขาดคอช้างได้   ควาญช้างสมเด็จพระนเรศวรคือนายมหานุภาพ และกลางช้างของสมเด็จพระเอกาทศรถคือหมื่นภักดีศวรถูกปืนข้าศึกตายในสนามรบ    ที่รอดชีวิตคือเจ้ารามราฆพซึ่งเป็นกลางช้างของสมเด็จพระนเรศวรและขุนศรีคชคงซึ่งเป็นควาญช้างของสมเด็จพระเอกาทศรถ  ภายหลัง แม่ทัพนายกองทั้งหลายของไทยจึงตามมาทัน ช่วยกันไล่ฟันทหารพม่าตายมากมาย
ตอนที่  11  "สมเด็จพระนเรศวรทรงสร้างสถูปและปูนบำเหน็จทหาร"
สมเด็จพระนเรศวรโปรดฯ ให้สร้างพระสถูปครอบพระศพพระมหาอุปราชาไว้ที่ตำบลตระพังตรุ   แล้วโปรดฯ ให้เจ้าเมืองมล่วนนำข้อความไปกราบทูลพระเจ้านันทบุเรงว่า  พระมหาอุปราชาสิ้นพระชนม์ในการสงครามยุทธหัตถีครั้งนี้   แล้วจากนั้นจึงเสด็จกรีธาทัพกลับกรุงศรีอยุธยา   สมเด็จพระนเรศวรโปรดฯ ให้ปูนบำเหน็จความชอบแก่กลางช้างและควาญช้างของพระองค์และของสมเด็จพระเอกาทศรถ   แล้วโปรดฯ ให้ตัดสินลงโทษแม่ทัพนายกองที่ตามเสด็จไม่ทันตามกฎอัยการศึก  คือ  ให้ประหารชีวิต   แต่เนื่องจากวันรุ่งขึ้นจะเป็นวันอุโบสถ  คือ  วันพระ   แรม  15 ค่ำ   จึงโปรดฯ ให้จองจำแม่ทัพนายกองไว้กอง   และให้ประหารชีวิตในวันขึ้น 1 ค่ำ
ตอนที่   12   "สมเด็จพระวันรัตขอพระราชทานอภัยโทษ"
ถึงวันแรม 15 ค่ำ  สมเด็จพระวันรัตวัดป่าแก้วนำพระราชาคณะ  25 รูปมาเข้าเฝ้า   ทูลขอพระราชทานอภัยโทษให้แม่ทัพนายกองทั้งหลาย   สมเด็จพระนเรศวรพระราชทานอภัยโทษให้โดยให้ทำดีถ่ายโทษ  โปรดฯ ให้เจ้าพระยาพระคลังไปตีทวายและเจ้าพระยาจักรีไปตีตะนาวศรี และมะริด




1 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ27 มกราคม 2565 เวลา 06:45

    No deposit bonus codes 2021 | Free spins, no deposit bonus codes
    Find 인카지노 the best no deposit casino bonus 온카지노 codes for No Deposit Bonus Codes 2021 메리트 카지노 | Free spins, no deposit bonus codes for online casino sites.

    ตอบลบ