วันจันทร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2553

ประวัติลิลิตตะเลงพ่าย


ลิลิตตะเลงพ่าย
ลิลิตตะเลงพ่าย เป็นบทประพันธ์ประเภทลิลิต ประพันธ์ขึ้นโดยสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรสและ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นภูบาลบริรักษ์ เพื่อสดุดีวีรกรรมของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ในวาระงานพระราชพิธีฉลองตึกวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร ที่ได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์ เมื่อพุทธศักราช ๒๓๗๕ ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ โดยตะเลงในที่นี้หมายถึง มอญมีอยู่ ๒ ฉบับ คือ
ลิลิตตะเลงพ่าย ฉบับร้อยกรอง
ลิลิตตะเลงพ่าย ฉบับร้อยแก้ว
ในแต่ละฉบับแบ่งออกเป็น ๑๒ ตอน สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ทรงนิพนธ์ร่วมกับ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นภูบาลบริรักษ์ (พระองค์เจ้ากปิษฐาขัตติยกุมาร)
ประวัติลิลิตตะเลงพ่าย
            สมเด็จพระมหาสมณเจ้า  กรมพระปรมานุชิตชิโนรส   เป็นสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่  7  แห่งกรุงรัตนโกสินทรฺ  และเป็นเชื้อพระวงศ์พระองค์แรกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ที่มีสมณศักดิ์สูงสุดในทางพระพุทธศาสนา   พระนามเดิมว่า  พระองค์เจ้าวาสุกรี   เป็นพระเจ้าลูกยาเธอองค์ที่  28  ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกและเจ้าจอมมารดาจุ้ย
             พระองค์เจ้าวาสุกรี  ประสูติ ณ  วันเสาร์  เดือนอ้าย  ขึ้น  5  ค่ำ  ปีจอ  จุลศักราช  1152  ตรงกับวันที่  11  ธันวาคม  พุทธศักราช  2333  เมื่อมีพระชันษาได้ 12 ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณร  ประทับอยู่   วัดพระเชตุพน  และทรงศึกษาอยู่ในสำนักของสมเด็จพระวันรัต    พระองค์ได้ผนวชเป็นพระภิกษุในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย    และในรัชกาลนี้ได้โปรดให้พระองค์เจ้าวาสุกรีได้ทรงกรมเป็นครั้งแรก  เป็น  "กรมหมื่นนุชิตชิโนรส  ศรีสุคตขัติยวงศ์"   ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้กรมหมื่นนุชิตชิโนรสฯทรงบังคับัญชาวัดต่าง ๆ ในกรุงเทพฯเสมอพระราชาคณะ    ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  โปรดให้เลื่อนกรมหมื่นนุชิตชิโนรสฯ เป็น กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรสศรีสุคตขัติยวงศ์บรมพงศาธิบดี  จักรีบรมนาถ  ปฐมพันธุมหาชวรางกูร  
              กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส   สิ้นพระชนม์ด้วยพระโรคชรา  เมื่อวันศุกร์  เดือนอ้าย ขึ้น 9 ค่ำ  ตรงกับวันที่  9  ธันวาคม  พุทธศักราช  2396   พระชนมายุได้  63 พรรษา  4 วัน   และในฐานะที่ทรงเป็นประมุขที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงศรัทธามาก  จึงโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระศพจากวัดพระเชตุพนไปประดิษฐาน ณ พระเมรุที่ท้องสนามหลวง  แล้วพระราชทานเพลิงศพ เมื่อวันเสาร์ที่ 8 เมษายน  ขึ้น  11 ค่ำ  เดือน  5  พุทธศักราช  2397   เมื่อพระราชทานเพลิงพระศพแล้ว   พระบาทสมเด็จพะจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดฯ ให้เชิญพระอัฐิไปประดิษฐานไว้ที่พระตำหนักวัดพระเชตุพน   และโปรดให้มีตำแหน่งฐานานุกรมรักษาพระอัฐิต่อมา    ถึงเวลาเข้าพรรษา พระองค์ก็เสด็จพระราชดำเนินไปถวายพุ่มบูชาพระอัฐิทุกปี  เมื่อถึงวันเสด็จพระราชดำเนินพระราชทานพระกฐินที่วัดพระเชตุพน  ก็โปรดฯ  ให้เชิญพระอัฐิไปประดิษฐานที่ในพระอุโบสถ  ทรงสักการะบูชาแล้วผ้าไตรปี   โปรดฯ ให้พระฐานานุกรมพระอัฐิสดับปกรณ์เป็นประเพณีเช่นนี้ตลอดมาตั้งแต่รัชกาลที่  4  จนกระทั่งถึงรัชกาลปัจจุบัน    ถึงรัชกาลที่ 6  พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงสถาปนากรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรสขึ้นเป็น "สมเด็จพระมหาสมณเจ้า  กรมพระปรมานุชิตชิโนรส"
                สมเด็จพระมหาสมณเจ้า  กรมพระปรมานุชิตชิโนรส  นอกจากจะทรงพระเกียรติคุณในทางคติธรรมแล้ว  ยังทรงพระเกียรติคุณในทางคดีโลกด้วย  คือ  ได้รับการยกย่องว่า  ทรงเป็นรัตนกวีพระองค์หนึ่งในยุครัตนโกสินทร์ 
               คำประพันธ์ที่ทรงใช้ในการนิพนธ์  เรียกว่า ลิลิต  เป็นลิลิตสุภาพ ประกอบด้วยร่ายสุภาพและโคลงสุภาพ   โคลงที่ใช้มีทั้ง โคลง 2  โคลง 3   และโคลง 4   ตอนท้ายเป็นโคลงกระทู้ซึ่งเป็นลักษณะคำประพันธ์ที่สมเด็จพระมหาสมณเจ้า  กรมพระปรมานุชิตชิโนรสทรงนิยมใช้ในการนิพนธ์ปิดท้ายวรรณคดีที่ทรงนิพนธ์เกือบทุกเรื่อง
ลักษณะการแต่ง
แต่งด้วยลิลิตสุภาพ ประกอบด้วย ร่ายสุภาพ โคลงสองสุภาพ โคลงสามสุภาพ และโคลงสี่สุภาพ แต่งสลับกันไป จำนวน ๔๓๙ บท โดยได้แบบอย่างการแต่งมาจากลิลิตยวนพ่ายที่แต่งขึ้นในสมัยอยุธยาตอนต้น ลิลิตเปรียบได้กับงานเขียนมหากาพย์ จัดเป็นวรรณคดีประเภทเฉลิมพระเกียรติพระมหากษัตริย์
คำประพันธ์ที่ใช้แต่ง
       เรื่องลิลิตตะเลงพ่ายแต่งด้วยคำประพันธ์ประเภท ร่ายสุภาพ   โคลงสี่สุภาพ  โคลงสามสุภาพ   และโคลงสองสุภาพ
      ลักษณะบังคับของร่ายสุภาพ   ร่ายสุภาพบทหนึ่งมีตั้งแต่  5 วรรคขึ้นไป  และตอนท้ายต้องจบด้วยโคลงสองสุภาพ   ร่ายสุภาพแต่ละวรรคกำหนดให้มี  5  คำ  เมื่อรวมกับโคลงสองสุภาพแล้วจะได้แผนผังดังนี้
          ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐     ๐ ๐ ๐ ๐ ๐       ๐ ๐ ๐ ๐ ๐       ๐ ๐ ๐ ๐ ๐   ฯลฯ    

๐ ๐ ๐ ๐   (ต่อไปเป็นโคลงสองสุภาพ) ๐ ๐ ๐ อ ท   ๐ อ ๐ ๐ ท       อ ท ๐ ๐ (๐ ๐)

                        สำหรับสัมผัสบังคับของร่ายสุภาพ  กำหนดให้คำสุดท้ายของวรรคหน้าส่งสัมผัสไปยังคำที่ 1 หรือที่ 2 หรือที่ 3  เพียงดำใดคำหนึ่งในวรรคถัดไป   การส่งสัมผัสเป็นไปเช่นนี้จนกระทั่งจบด้วยโคลงสองสุภาพ   ส่วนสัมผัสในซึ่งเป็นสัมผัสที่ไม่บังคับในร่ายสุภาพใช้ไดทั้งสัมผัสพยัญชนะและสัมผัสสระ  แต่นิยมสัมผัสพยัญชนะมากกว่า   
    ตัวอย่างร่ายสุภาพ.............
            เสร็จเสาวนีย์สั่งสนม     เนืองบังคมคำราช     พระบาทบทันนิทรา     จวนเวลาล่วงสาง       พื้นนภางค์เผือดดาว   แสงเงินขาวขอบฟ้า     แสงทองจ้าจับเมฆ........ฯลฯ..........ขอลาองค์ท่านไท้    ไปเผด็จดัสกรให้   เหือดเสี้ยนศึกสยาม   สิ้นนา
โคลงสามสุภาพ            
          โคลงสามสุภาพบทหนึ่งมี  4 วรรค ๆ ละ 5 คำ  ยกเว้นวรรคสุดท้ายซึ่งมี 4 คำ และมีคำสร้อยตอนท้ายอีก 2 คำ  ดังแผนผังโคลงสามสุภาพดังนี้
   ๐ ๐ ๐ ๐ ๐       ๐ ๐ ๐ อ ท
๐ ๐ ๐ ๐ ท          อ ท ๐ ๐ (๐ ๐)
             สัมผัสโคลงสามสุภาพกำหนดให้คำสุดท้ายของวรรคแรกส่งสัมผัสไปยังคำที่ 3 ของวรรคที่ 2  และคำสุดท้ายของวรรคที่ 2 ส่งสัมผัสไปยังคำสุดท้ายของวรรคที่ 3  
  ตัวอย่างโคลงสามสุภาพ...........   ล่วงลุด่านเจดีย์        สามองค์มีแห่งหั้น
                                                        แดนต่อแดนกันนั้น          เพื่อรู้ราวทาง
ลักษณะบังคับของโคลงสองสุภาพ
 โคลงสองสุภาพบทหนึ่งมี  3 วรรค ๆ หนึ่งมี 5 คำ   ยกเว้นวรรคสุดท้ายมีเพียง  4  คำ  ในตอนท้ายมีคำสร้อยได้ 2 คำ  ดังแผนผังดังนี้
๐ ๐ ๐ อ ท       ๐ อ ๐ ๐ ท
             อ ท ๐ ๐ (๐ ๐)
               สัมผัสของโคลงสองสุภาพมีเพียงแห่งเดียว คือคำสุดท้ายของวรรคแรกส่งสัมผัสไปยังคำสุดท้ายของวรรคที่ 2  
ตัวอย่างโคลงสองสุภาพ........  พระฟังความลูกท้าว     ลาเสด็จศึกด้าว
                                                                       ดั่งเบื้องบรรหาร
ลักษณะบังคับของโคลงสี่สุภาพ   
           โคลงสี่สุภาพบทหนึ่งมี 4 บาท  แต่ละบาทประกอบด้วย 2 วรรค  คือ  วรรคหน้า 5 คำ   วรรหลัง 2 คำ ยกเว้นบาทที่ 4 ที่มีวรรคหลัง 4 คำ  นอกจากนี้ในบาทที่ 1 และบาทที่ 3  อาจมีสร้อยคำได้อีกบาทละ 2 คำ  ดังแผนผังดังนี้
    ๐ ๐ ๐ อ ท       ๐ ๐ (๐ ๐)
๐ อ ๐ ๐ ๐                 อ ท
๐ ๐ อ ๐ ๐                ๐ อ (๐ ๐)
๐ อ ๐ ๐ ท                อ ท ๐ ๐
               โคลงสี่สุภาพบังคับคำเอก 7 คำ   คำโท  4 คำ  โดยถือรูปวรรณยุกต์เป็นเกณฑ์  และคำเอกอาจใช้คำตายแทนได้   สัมผัสโคลงสี่สุภาพได้แก่  คำสุดท้ายของบาทที่ 1(ไม่นับคำสร้อย)  ส่งสัมผัสไปยังคำที่ 5 ของบาทที่ 2 และบาทที่ 3  คำสุดท้ายของบาทที่ 2  ส่งสัมผัสไปยังคำที่ 5 ของบาทที่ 4   ส่วนสัมผัสในของโคลงสี่สุภาพนิยมสัมผัสอักษร 
ตัวอย่างโคลงสี่สุภาพ........   กระเต็นกระตั้วตื่น      แตกคน
                                           ยูงย่องยอดยูงยล           โยกย้าย
                                           นกเปล้านกปลีปน           ปลอมแปลก  กันนา
                                           คล่ำคล่ำคลิ้งโคลงคล้าย     คู่เคล้าคลอเคลีย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น